สิ่งที่นโปเลียนไม่อาจพิชิตด้วยกระบี่
ข้าจักทำให้ลุล่วงด้วยปากกา
ความนำสำนักพิมพ์
บัลซัคได้รับสมญาว่านโปเลียนแห่งอาณาจักรวรรณกรรม ชีวิตของเขามิต่างจากนวนิยาย เป็นนวนิยายที่เขากำหนดขึ้นเอง แสดงบทบาทด้วยตัวเอง และดำเนินเรื่องไปพร้อม ๆ กับนวนิยายในหน้ากระดาษ เรื่องราวนับแต่วัยเยาว์จวบจนวาระสุดท้ายของนักคิดนักเขียนผู้นี้เรียบเรียงโดย วัลยา วิวัฒน์ศร เผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ชื่อ ‘ออนอเร่ เดอ บัลซัค’ ตั้งแต่ฉบับ 10 กุมภาพันธ์ ถึงฉบับ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สำหรับการพิมพ์รวมเล่มในวาระเฉลิมฉลองในครั้งนี้ ผู้เรียบเรียงได้ปรับปรุงแก้ไข และทำเชิงอรรถท้ายเล่มให้สมบูรณ์ ใช้ชื่อหนังสือว่า ‘บัลซัค’
สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
มิถุนายน พ.ศ. 2542
บันทึกผู้เขียน
บัลซัคเลือกที่จะเป็นโพรมีธิอุส ตัวละครในเทพนิยายกรีก ผู้เสียสละตนเพื่อมนุษยชาติด้วยการขโมยไฟจากเทพเจ้ามาให้มนุษย์ใช้ จนตัวเองถูกเทพจูปีเตอร์ลงโทษ มากกว่าที่จะเลือกเป็นเฟาสต์ ตัวละครผู้ขายวิญญาณ ในบทละครร้อยกรองของเกอเธ่ นักประพันธ์เอกชาวเยอรมัน (ค.ศ.1749 – 1842)
บัลซัคกล่าวเช่นนี้เพราะเขาเห็นว่า เฟาสต์ทำเพื่อตนเองเท่านั้น แต่โพรมีธิอุส ยินดีทนทุกข์เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เฉกเช่นตัวเขาที่ทำงานหนักวันละ 17-18 ชั่วโมง ตลอดชีวิต ด้วยปรารถนาสร้างสรรค์ผลงานชี้นำสังคม
ออนอเร่ เดอ บัลซัค โพรมีธิอุส
ออนอเร่ เดอ บัลซัค นโปเลียนแห่งอาณาจักรวรรณกรรม
วัลยา วิวัฒน์ศร
เมษายน พ.ศ. 2542